033 ธรรมปัจเวกขณ์
วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๒๖

กว่าเราจะรู้สภาวธรรมที่เรียกว่า อุปาทาน หรือความยึดถือ ความยึด ความถือ ความติดเอาไว้ มันเป็นเรื่อง ที่เกิดอยู่ในจิตจริงๆ แล้วเราก ็ไม่รู้มันง่ายๆน่ะ ไม่รู้มันได้ง่ายๆ เราไม่รู้ เรานึกว่าเราไม่มี บางที เรานึกว่าเรามี แต่ว่ามันมี แล้วมันก็แสดงตัวออกมา ทำให้เราลำบาก เป็นภาระวุ่นวาย ไม่เป็นสุขน่ะ เกิดทุกข์ เกิดกังวล เกิดวุ่นวาย เกิดรำคาญ เกิดเป็นภาระ เกิดเป็นอะไรต่ออะไร อยู่อย่างนั้นแหละ

เพราะฉะนั้น แม้แต่กิเลสส่วนหยาบ ส่วนละเอียด อะไรต่ออะไร ตัวที่ยังละไม่ได้ ตัวที่เราเอง เรายังไม่รู้จริง ตามค้นไม่พบ ในจิตใจ ยังจับตัวมันไม่ได้ ก็พึงตั้งข้อสังเกต เอาไว้เสียก่อน ว่าอันนี้ มันยังมีทุกข์อยู่ อย่างแน่ๆ มันต้องมีเหตุ เพราะเหตุนี้ ไม่ใช่ตัวใดหรอก เหตุก็คือ ตัวอุปาทาน ไอ้เรื่องคำ ใช้คำว่ากิเลส มันก็รู้อยู่ว่า เป็นบทบาท มีฤทธิ์แรง มีความผลัก ความดูด อันแรงชัดเจน เราก็รู้

ทีนี้พอถึงขั้นคำว่า ตัณหา หรือว่า เป็นกิเลส ขั้นที่มันดูดดึง อยู่ในใจ แต่ว่าเป็นเรื่อง เบาลงไป จากแรงๆ ก็พอจะจับได้ เพราะว่า มันก็หยาบกว่า อุปาทาน เพราะคำว่า อุปาทานแท้ๆ ที่มันยังฉวยอยู่ ยึดอยู่ ถืออยู่ มันติดอยู่ มันเป็นเรื่องที่จะต้อง ใช้จิตอันแยบคาย ในปริยัติ หรือว่า ในทฤษฎี ในคำบรรยาย อะไรนี่ เราก็ฟัง แต่เราจับสภาวะ กับตัวภาษาทฤษฎี คำบรรยาย ต่างๆนี่ ไปประกบ ให้มันถูกตัว ถูกตนกันว่า เอ๊! เรียกว่า อย่างนี้ ลักษณะอธิบาย ว่าอย่างนี้ มันคือ ตัวนี้จริงๆ นี่มันก็ไม่ง่าย ตัวอุปาทาน

เพราะฉะนั้น ต้องให้ศึกษากันดีๆ ศึกษากันจริงๆ เราก็ค่อยๆรู้ตัว ถ้าได้ตัวอย่างไปแล้ว ตัวใดตัวหนึ่ง หรือว่า ลักษณะหนึ่ง ไม่ว่าเกิดจาก เหตุปัจจัยอะไร เป็นๆตัวตัว ของเรื่อง อาการอุปาทาน เหมือนกันทั้งนั้น อาการที่ยัง หลงยึดฉวย เอาไว้ แม้แต่เราฉวย ความอร่อย ดังที่กล่าวมาแล้ว บรรยายไปแล้ว เรื่องของ ความเสพติด ในเรื่องง่วง ในเรื่องหลับ ในเรื่องหรี่ เรื่องนอน เรื่องหยุด เรายังฉวยเป็นตัว เป็นตน เป็นอัตตาอยู่ อย่างนี้เป็นต้น หรือความชอบใจ ในส่วนใดๆ ก็แล้วแต่ มันยังฉวย ยังยึด ยังติด เราก็จะต้อง ไม่สำคัญมั่นหมาย ไม่ฉวย ไม่ติดไม่ยึด ต้องเห็นด้วยสัจจะ ขนาดเห็นด้วยสัจจะแล้ว เรายังต้อง หัดปล่อย เพราะมันเป็นตัวแนบเนียน มันเป็นตัวเคยตัวชิน ที่แนบเนียน ต้องหัดต้องปล่อย ต้องหัด ต้องปล่อยจริงๆ รู้ชัดต่ออาการ สภาวะ

เพราะฉะนั้น ศาสนาพระพุทธเจ้า จึงเป็นศาสนาที่ ทำด้วยรู้ด้วย ไม่ใช่ทำแล้วไม่รู้ ได้ไม่ได้ ไม่รู้ หมดไม่หมด ไม่รู้ สภาวะเป็นอย่างไร ไม่รู้ ไม่ใช่ เพราะฉะนั้น ศาสนาพุทธ รู้สภาวะ รู้อาการ บางอย่างรู้แล้ว ยังพูดเป็นภาษา สู่กันฟัง ถ้าคนไม่เก่ง ในภาษา ก็ยังสื่อให้เขารู้ตาม ไม่รู้เรื่อง สื่อเขารู้ตามไม่ออก คนรับฟัง ก็ยังไม่เข้าใจ มันเป็นยังไงๆ ก็ยากน่ะ

เพราะฉะนั้น จึงต้องศึกษากันจริงๆ และศาสนาพุทธ จึงยืนยันได้ว่า เป็นการบรรลุทั้งรู้ๆ เป็นการบรรลุ อย่างสะอาด หมดจด เพราะว่า ไม่ใช่งมงาย รู้อยู่ เหลืออยู่ รู้อย่างละเอียดลออ จนหมดสิ้น ขนาดเหลือ น้อยๆนี่ ก็เหมือนกับ ไม่มีได้น่ะ เหลือเชื้อ เหลือน้อยๆ เหลือไอ้โน่น ไอ้ที่อยู่บางๆ บางเบา ทุกข์มันก็น้อย มันยังเป็น ไปได้

เพราะฉะนั้น คนหลงจึงมีได้จริงๆ คนที่สะอาดไม่หมด บริสุทธิ์ไม่หมด ยังเหลือเชื้อเหลือรอย เหลืออะไร ต่ออะไรอยู่ ไม่บริสุทธิ์หมดจด จึงมีอยู่ในลัทธิอื่นๆ ส่วนลัทธิพุทธนั้น จืดแยบคายจริงๆ จึงเรียกว่า ถึงขั้น ถอนอนุสัย ถอนอาสวะน่ะ อนุสัย หมายความว่า ตามเข้าไปรู้ ตัวที่มันนอนนิ่ง กบดานน่ะ ตามเข้าไปดูไสยะ ตัวนอน อนุนี่ ตาม หรือว่า เป็นตัวไสยะที่เล็กๆ ถ้าจะแปล อีกความหมายหนึ่ง อนุ ก็แปลว่า น้อย มันเป็นตัว ไสยะที่มันน้อย มันเล็ก รู้มันได้ยาก ไม่ใช่รู้ได้ง่ายๆ ก็เหมือนกันน่ะ

ส่วนอาสวะนั้น สวะ แปลว่าตัวตน มันยังมีตัวอยู่ ยังมีเชื้ออยู่ ยังมีตัวตนอยู่ อาสวะ คนไม่รู้ ก็เหมือนไม่มี คนรู้จึงจะเห็นว่ามี เพราะฉะนั้น จึงต้องตรวจกัน อย่าประมาท พยายามกันจริงๆ เราจึงจะถอน ถึงอาสวะ ถอนอนุสัย หรือว่า จับรายละเอียด ที่เป็นสภาพลึกซึ้ง ไปแล้วได้ เราได้ศึกษากันมา ตั้งแต่หยาบ ตั้งแต่กลาง มาเรื่อย ตอนนี้ เราจะไล่ขึ้น เป็นฐานสูง เป็นระดับที่ จะต้องพยายาม อย่าประมาท ถ้าไม่เช่นนั้น เราก็จะได้แต่ อย่างงี้แหละ เราก็มีฐานอาศัย พอเป็นพอไป ขนาดนี้ก็ ถ้าว่ากันจริงแล้ว พวกเราก็พอสบาย พอสบายถูไถ ไปชั่วชีวิต จะตายชาตินี้ มันก็คงไม่กระไรนัก แต่มันไม่ใช่ ความสูงสุด ไม่ใช่ความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ที่แท้จริง ตามอุดมการณ์ หรือตามจุดเป้าหมาย ของศาสนาพุทธ เพราะฉะนั้น อย่าเสียเวลา อย่าเสียที ที่เราเอง เราก็มีผู้รู้ชี้ เราเอง เราก็มีโอกาส มีเวลา ที่เราจะได้ฝึกฝน พยายาม ให้มันสะอาด บริสุทธิ์ ให้หมดจด ถึงที่จริงๆ เราจึงจะได้พิสูจน์สัจจะ ของพระพุทธเจ้า และจะได้สืบสาน ศาสนานี้ต่อไป อีกนานเท่านาน

สาธุ.